วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

กิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ โดยครูกฤษดินทร์ กศน.อำเภองาว


กิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1. กรอบแนวคิด
           เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
ส่วนที่ 2. คุณลักษณะ
           เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
ส่วนที่ 3. คำนิยาม
           ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
           ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
           ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
           การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
ส่วนที่ 4. เงื่อนไข
            การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน 2 เงื่อนไข ดังนี้
            เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
            เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ส่วนที่ 5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ
             จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
  

          
       

            กระทรวงศึกษาธิการ   โดยศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ศธ.สำนักกิจการพิเศษ  สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ สถานศึกษา (2550 2554)  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้หน่วยงาน และสถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการดำเนินงาน การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติใน  ทุกระดับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินการ บนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง (ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ศธ. 2553 : 2) จากการดำเนินงานตามเป้าหมายระยะที่ 1 2 (ปี พ.ศ.2550-2552)  กระทรวงศึกษาธิการ ได้พัฒนาให้สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารการดำเนินงานการจัดการศึกษาในเรื่อง การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการบริหารจัดการสถานศึกษา รวมทั้งการพัฒนาการบุคลากร โดยพัฒนาเครือข่ายและขยายผลสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอน และการบริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คณะทำงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอนกระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : คำนำ) จนเกิดผลในทางปฏิบัติในทุกระดับ เกิดการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ ฯ ในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ ที่กำหนดว่า ภายในปีงบประมาณ 2553 สถานศึกษาทุกแห่งของกระทรวงศึกษาธิการต้องนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่สถานศึกษา โดยถือเป็นภารกิจปกติในการดำเนินงานของสถานศึกษา และมีการประเมินสถานศึกษา จนสามารถคัดเลือกสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างการจัดกระบวนการเรียนการสอนและการ บริหารจัดการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (สถานศึกษาพอเพียง) จำนวนทั่วประเทศในทุกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รวม 1,261 แห่ง แยกเป็นปี พ.ศ. 2550 จำนวน 135 แห่ง พ.ศ. 2552 จำนวน 1,126 แห่ง  ซึ่งในปีงบประมาณ 2552 กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการประเมินสถานศึกษาทุกสังกัด (ยกเว้นระดับอุดมศึกษา) โดยมีคณะกรรมการประเมินที่จะได้แต่งตั้งผู้แทนจากทุกสังกัด และใช้เครื่องมือประเมินฯ ที่สำนักผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการพัฒนาขึ้น ทั้งนี้มีสถานศึกษา กศน. ที่ผ่านการคัดเลือกสถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างฯ สถานศึกษา กศน.พอเพียงในปี 2550 จำนวน 1 แห่ง คือ กศน.อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี  และปี 2552 จำนวน 83 แห่ง  (คณะทำงานบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน. 2553 : 26-191)  รายละเอียดดังรายชื่อสถานศึกษา กศน.พอเพียง ปี 2550 และ 2552  และได้กำหนดให้มีการดำเนินงานโครงการ / กิจกรรมต่างๆ เพื่อขยายผลเครือข่ายขับเคลื่อนสู่สถานศึกษาให้ได้เพิ่มมากขึ้น ตามเป้าหมายระยะที่ 3 ปี 2553-2554 ณ ปัจจุบัน กศน.ยังคงมีการจัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยต้องจัดการศึกษาในทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาทั่วไป นักศึกษาคนพิการ และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เขตความรับผิดชอบในแต่ละ กศน.อำเภอ ในส่วนของนักศึกษาคนพิการ และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ครูผู้สอนคนพิการจึงต้องมีหน้าที่จัดการเรียนการสอนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักศึกษาคนพิการ และกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตต่อไป






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น